วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ความหมายของนันทนาการ
นันทนาการ
นันทนาการ (Recreation) คือ กิจกรรมที่สมัครใจทำในยามว่าง เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ นันทนาการ การเล่น และความสนุกสนาน ไม่สงวนไว้แต่มนุษย์ แต่พบได้ในสัตว์เกือบทุกชนิด การเล่นช่วยพัฒนาทักษะต่าง ๆ โดยเฉพาะทักษะการเคลื่อนไหวในสิ่งมีชีวิตวัยเยาว์
สำหรับมนุษย์ กิจกรรมนันทนาการมักเกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ และวันหยุด ประกอบด้วย ดนตรี การเต้นรำ กีฬา งานอดิเรก เกม และการท่องเที่ยว การดูโทรทัศน์ และฟังเพลง เป็นรูปแบบสามัญของนันทนาการ
ความเป็นเอกลักษณ์ของนันทนาการคือ
1. ไม่เป็นงานอาชีพ
2. ไม่เป็นอบายมุข
3. ไม่มีผลตอบแทน
4. ไม่มีใครบังคับให้ร่วมกิจกรรม
ประโยชน์ของการทำกิจกรรมนันทนาการคือ
1. ช่วยให้คนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองบุคคลอื่นสังคมและประเทศชาติ
2. ช่วยให้คนได้มีโอกาสผ่อนคลายความตึงเครียดจากการปฏิบัติภารกิจประจำวัน
3. ช่วยให้คนเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมีสุขภาพจิตดีผ่อนคลายความวิตกกังวลในปัญหาชีวิต
ประจำวัน
4. ช่วยให้คนเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและบุคคลอื่นๆ
ในสังคมได้ดี
5. ช่วยป้องกันปัญหาอาชญากรรมและความประพฤติของบุคคลในสังคมเนื่องจากการไม่รู้จักใช้
เวลาว่างในทางที่ถูกต้อง
6. ช่วยส่งเสริมให้เกิดความสุขใจ ความพอใจในชีวิตและสังคมยิ่งขึ้น
7. ช่วยส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ
8. ช่วยส่งเสริมให้เกิดความรักความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างบุคคลในครอบครัวและสังคม
9. ช่วยส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีและคุณธรรมในสังคมจากการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ
ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ
นันทนามีหลายการประเภทใดขึ้นอยู่กับความชอบ คือ
1. ประเภทการฝีมือ และศิลปหัตถกรรม
2. ประเภทเกมส์ กีฬา กรีฑา
3. ประเภทดนตรี และร้องเพลง
4. ประเภทการเต้นรำ
5. ประเภทงานอดิเรก
6. ประเภทกิจกรรมทางสังคม
7. ประเภทละครภาพยนตร์
8. ประเภทการอ่าน พูดเขียนและทางวรรณกรรม
9. ประเภทนอกสถานที่
10. ประเภทกิจกรรมพิเศษ
11. ประเภทอาสาสมัคร
จุดมุ่งหมายของกิจกรรมนันทนาการ
1. เพื่อพัฒนาอารมณ์
กิจกรรมนันทนาการเป็นกระบวนการเสริมสร้าง และพัฒนาอารมณ์ของบุคคลและชุมชน โดยอาศัยกิจกรรมต่างๆ เป็นสื่อกลางในช่วงเวลาว่าง หรือเวลาอิสระ การเข้าร่วมกิจกรรมต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ และกิจกรรมนั้นจะต้องเป็นกิจกรรมที่สังคมยอมรับ สามารถก่อให้เกิดความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน2. เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่
กิจกรรมนันทนาการ ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ผู้ร่วมกิจกรรม ทั้งนี้เพราะความหลากหลายกิจกรรม เช่น การท่องเที่ยว ทัศนศึกษา การเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ในสถานที่และทรัพยากรท่องเที่ยว ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และพื้นฐานเดิมของบุคคลหรือชุมชน
3. เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์
กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ หรือกิจกรรมบางอย่างที่เคยเข้าร่วมมาแล้ว แต่ผู้เข้าร่วมอยากสร้างความประทับใจ หรือความทรงจำเดิม ก็จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ทั้งสิ้น
4. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม
กิจกรรมนันทนาการ จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคคลและชุมชน ฝึกให้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนด้วยความสนใจและสมัครใจ ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม รู้จักสิทธิและหน้าที่ ตลอดจนความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นในฐานะองค์กรของสังคม
5. เพื่อส่งเสริมการแสดงออก
กิจกรรมนันทนาการหลายประเภท เป็นการส่งเสริมให้บุคคลได้แสดงออกทางด้านความรู้สึกนึกคิด สร้างสรรค์ การระบายอารมณ์ การเลียนแบบสถานการณ์ หรือพฤติกรรมต่างๆ ทำให้สามารถเรียนรู้และรู้จักตนเองมากขึ้น สร้างความมั่นใจ ความเข้าใจและการควบคุมตนเอง
6. เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต
กิจกรรมนันทนาการเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาอารมณ์ ความสุข ความสามารถของบุคคล สุขภาพและสมรรถภาพทางกายและจิตใจ ความสมดุลทางกาย และจิต สิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ของสังคมทุกเพศและวัย นอกจากนี้ ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มประชากรทุกกลุ่มด้วย
7. เพื่อส่งเสริมความเป็นมนุษยชาติ
กิจกรรมนันทนาการจะช่วยส่งเสริมพฤติกรรม และพัฒนาความเจริญงอกงามของบุคคลทั้งทางกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และจิตใจของคนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ตามความสนใจและความต้องการของบุคคล เช่น การจัดกิจกรรมนันทนาการนานาชาติ คือ มหกรรมกีฬาโอลิมปิค ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจอันดีและมิตรภาพของมวลมนุษยชาติ
8. เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี กิจกรรมนันทนาการเป็นการให้การศึกษาแก่เยาวชนในด้านการช่วยเหลือตนเอง รู้จักสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย และการปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มและสังคมได้เป็นอย่างดี เป็นการพัฒนาบทบาทของการเป็นพลเมืองดี ไม่เห็นแก่ตัว ช่วยเหลือสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ ส่งผลให้สังคมอบอุ่น และเพิ่มพูนคุณภาพชีวิต
ตัวอย่างกิจกรรมนันทนาการ
* การเต้นรำ
* การรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม
* การล่าสัตว์และการตกปลา
* การท่องเที่ยว
* เล่นอินเทอร์เน็ต
* อ่านหนังสือ
* เขียนนิยาย หรือ เรื่องสั้น (ในกรณีที่เขียนโดยไม่ได้ตั้งใจจะนำไปจัดพิมพ์)
* การเล่นกีฬาและออกกำลังกาย
* ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
* การเล่นวิดีโอเกม
* ไปสวนสนุก
* เล่นว่าว
* เดินเล่น
* ปั่นจักรยาน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น